การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์

23:03 oiw 0 Comments

การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์
สาระสำคัญ
            ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์เป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เกิดการทำงานสนองต่อผู้ใช้เนื่องจากระบบปฏิบัติการนั้นจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับระบบ Hardware ที่ประกอบกันเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมประยุกต์จะเปรียบเสมือนกับสิ่งที่ให้ มนุษย์ได้สร้างสรรค์งานจากการประมวลผล ในคอมพิวเตอร์ ในส่วนตรงนี้จะทำให้การใช้งานคอม พิวเตอร์สำหรับผู้ใช้นั้นตรงกับความต้องการของการใช้งาน และตรงกับงานที่ต้องการจะใช้ 
สาระการเรียนรู้
1. การสร้างแผ่น Start Up
2. การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
3. การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1. นักศึกษาสามารถบอกวิธีสร้างแผ่น Start Up และสามารถปฏิบัติและนำไปใช้งานได้จริง
2. นักศึกษาสามารถอธิบายการใช้งานระบบปฏิบัติการแต่ละชนิดได้และสามารถติดตั้งระบบ ปฏิบัติการโดยนำไปใช้งานได้จริง
3. นักศึกษาเข้าใจการทำงานของโปรแกรมประยุกต์แต่ละชนิดและสามารถติดตั้งนำไปใช้งาน ได้
          หลังจากที่ได้ Setup Bios และ Format เสร็จเรียบร้อยแล้ว คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถใช้งานได้ หากยังไม่ได้ลงระบบปฏิบัติการ หรือเรียกว่า OS (operating system) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการ อินเทอร์เฟสระหว่างผู้ใช้ให้สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้
การสร้างแผ่น Startup
           ในการ Boot เราสามารถ Setup จาก Bios ที่เราเรียนจากบทที่แล้วได้เลยว่าจะเลือกBoot Sequenceจากอะไรเป็นอันดับแรกแผ่น Startup Disk หมายถึง แผ่นดิสก์ ใช้สำหรับ Boot เครื่องโดยที่จะต้องใช้เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆขึ้นกับระบบ Windows และไม่สามารถ Boot เครื่องเข้า Windows แบบปกติได้ โดยที่ภายในแผ่นดิสก์นี้ จะประกอบไปด้วยระบบ DOS (ของ Windows) และไฟล์ Utilities ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการจัดการ และการ Format ฮาร์ดดิสก์ รวมทั้งโปรแกรมหรือคำสั่งของ DOS ต่าง ๆ ในส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งาน โดยทั่วไป มักจะใช้แผ่น Startup Disk สำหรับ Boot เครื่อง เพื่อทำการจัด พาร์ติชั่น หรือ การ Format ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งโดยปกติ การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรจะมีแผ่นดิสก์ไว้ใช้ยามฉุกเฉินส่วนวิธีการใช้งานแผ่นดิสก์นี้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มีการตั้ง Boot Sequence ให้เลือก Boot จาก Drive A: ก่อนแล้วค่อยไปหา Hard disk ถ้าใส่แผ่น Startup Disk ในช่อง Floppy Disk Drive เครื่องก็จะเลือก Boot จากแผ่นดิสก์ แต่ถ้าหากตั้งให้ เครื่อง Boot ระบบจาก ฮาร์ดดิสก์ก่อน ต้องไปเปลี่ยนใน Bios ให้เป็น Drive A: แทน จึงจะใช้ได้ ดูเรื่องการตั้ง Bios ในบทที่ผ่านมา การสร้างแผ่น Windows 98 & Me Startup Disk สามารถทำโดยใช้เครื่องมือที่อยู่ในระบบ Windows 98 & ME ได้ซึ่งแผ่น Startup Disk ที่ได้นี้ จะสามารถนำมาใช้สำหรับการ Boot เครื่องคอมฯ และภายในแผ่น จะมีชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น และนอกจากนี้ ยังมีการติดตั้ง Driver ของ CD-ROM รวมอยู่ด้วย ดังนั้น จึงสามารถใช้งาน CD-ROM Drive ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการตั้ง Driver ของ CD-ROMวิธีการสร้างแผ่น Windows 98 & Me Startup Disk ถ้าหากระบบ Windows ติดตั้งจากแผ่นซีดี ต้องทำการใส่แผ่นซีดีสำหรับติดตั้ง Windows เข้าไปในเครื่องก่อน แต่ถ้าหากเป็นเครื่องที่ทำการติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์โดยตรงไม่ต้องใส่แผ่นWindows
ขั้นตอนการสร้างแผ่น Startup Disk 
1. เริ่มต้นโดยการเลือกที่เมนู Start >> Settings >> Control Panel >> Add/Remove Programs เลือกที่ป้าย Startup Disk
2. ใส่แผ่น Floppy Disk แผ่นที่ใส่ควรจะทำการ Format ก่อนแล้วเลือกที่ Create Disk ตามรูป
3. เลือก OK
4. รอสักพัก เครื่องจะทำการสร้างและ ก็อปปี้ไฟล์ต่าง ๆ ที่จำเป็นใส่ลงในแผ่น Floppy Disk เมื่อเสร็จแล้วสามารถนำแผ่น Floppy Disk ที่ได้นี้ไปใช้งานได้ โดยจะสามารถนำไปใช้เป็นแผ่น Boot เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทันที
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 98
มีขั้นตอนในการติดตั้งดังนี้
      1.ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
      2. เลือก Boot ให้สามารถใช้งาน CD - ROM ได้ด้วย
      3. ใส่แผ่น Windows 98 ที่ CD-ROM แล้วเลือกที่ไฟล์ SETUP.EXE ถ้า CD-ROM เป็น Drive E:\ ให้พิมพ์ ดังข้อความดังต่อไปนี้ E:\WIN98>setup
            เทคนิคอย่างหนึ่งสำหรับการติดตั้ง Windows ที่อยากแนะนำ คือ หากมีพื้นที่ว่าง ๆ บนฮาร์ดดิสก์มากเพียงพอให้ทำการ Copy Folder จากแผ่น CD Setup WIN98 ใส่ไว้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องก่อน จะเป็น การสะดวกดี รวมทั้งภายหลัง ที่จะทำการลงโปรแกรมอื่น ๆ เวลาที่จะหา แผ่น CD Setup ไม่ต้องคอยใส่แผ่น CD ของ Windows ด้วย
4. รอจนเครื่อง Scandisk เสร็จ
5. กด Continue เพื่อทำงานต่อไป
6.เลือก I accept the Agreement แล้ว Click ปุ่ม Next
7. ใส่ CD Key สำหรับ Windows98 Thai Setup และกด Next
ขอขอบคูณข้อมูลจากhttp://www.sttc.ac.th/

0 ความคิดเห็น: