หน่วยความจำหลัก

   หน่วยความจำหลัก 
(Main Memory Unit หรือ Primary Storage หรือInternal Storage) เป็นหน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU.) และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง
        หน่วยความจำหลัก จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และต้องมีกระแสไฟฟ้าเข้ามาช่วย  แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย
        หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลาง นำข้อมูลมาเก็บ และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว

         เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลัก เพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง ซีพียูจะทำหน้าที่นำคำสั่ง จากหน่วยความจำหลัก มาแปลงความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เป็นวงรอบเรื่อยๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบคำสั่ง (Execute cycle)



ภาพที่ 1.54 การทำงานวงรอบคำสั่ง (Execute cycle)

         จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่านเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลัก จะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติุุถ้าให้ซีพียูทำงานที่มีความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 2,000 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทันช่วงติดต่ออาจมีเพียง 100 เมกะเฮิรตซ์
หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ จึงต้องกำหนดคุณลักษณะในเรื่องช่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล (Accesss time) ค่าที่ใช้ทั่วไปอยู่ในช่วงประมาณ 60 นาโนวินาที ถึง 125 นาโนวินาที (1 นาโนวินาทีเท่ากับ 10 ยกกำลัง -9 วินาที) แต่อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาให้หน่วยความจำ สามารถใช้กับซีพียูที่ทำงานเร็วขนาด 33 เมกะเฮิรตซ์ โดยการสร้าง หน่วยความจำพิเศษมาึคั่นกลางไว้ ซึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแคช (cache memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามา เพื่อนำชุดคำสั่ง หรือข้อมูลจากหน่วยหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อให้ซีพียูเรียกใช้ได้เร็วขึ้น

ประเภทของหน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลักแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล
1. หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile memory) คือ หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้ กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด เรียกหน่วยความจำนี้ว่า  แรม  (RAM)

ภาพที่ 1.55 แรม  (RAM)

2. หน่วยความจำไม่ลบเลือน (Nonvolatile memory) คือ หน่วยความจำเก็บข้อมูลได้ โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร เรียกหน่วยความจำนี้ว่า  รอม  (ROM) ซึ่งเป็นชิป (Chip) ต่างๆ ที่อยู่บนแผงวงจร


ภาพที่ 1.56 รอม  (ROM)
หน่วยความจำหลักแบ่งตามสภาพการใช้งาน
1. หน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนลงไปได้ เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) 
รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่นเก็บโปรแกรมควบคุม การจัดการพื้นฐานของระบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอม ส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบ ลบข้อมูลและ เขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตราไวโลเล็ตฉายลงบนผิวซิลิกอน

หน่วยความจำประเภทนี้ มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ และขณะใช้งานจะมีแผ่นกระดาษทึบ
ปิดทับไวเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM)
2. หน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้ เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็น หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถนำโปรแกรม และข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก หรือหน่วยความจำรองมาบรรจุไว้ หน่วยความจำแรมนี้ต่างจากรอมที่สามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่เท่านั้น หากปิดเครื่องข้อมูล จะหายได้หมดสิ้น เมื่อเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง จึงจะนำข้อมูลหรือโปรแกรมมาเขียนใหม่อีกครั้ง

ลักษณะของ RAM
• เป็นชิป (Chip) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำหลัก
• ใช้เก็บข้อมูลหรือคำสั่งทั้งก่อนและหลังการประมวลผล
• สามารถเก็บข้อมูลได้ชั่วคราวขณะมีที่ไฟฟ้าเท่านั้น
• ผู้ใช้สามารถเขียน/อ่าน/ลบ/เปลี่ยนแปลงข้อมูลบน RAMได้ ดังนั้นความจุ(Capacity) และความเร็วในการเขียน/อ่าน(Access Time)ข้อมูลของ RAM จะมีผลต่อประสิทธิภาพ
• ถ้า RAM มีความเร็วสูงและ มีความจุมากก็จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้เร็วขึ้น
• ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ควรมีหน่วยความจำอย่างน้อย 128 – 256 MB
• อนาคตคาดว่าจะมีการเพิ่มขนาดของRAM มากขึ้นเนื่องจากราคาถูกลง และ ซอฟต์แวร์มีขนาดใหญ่ต้องการใช้ RAM ที่มีความจุมากในขณะทำงาน
• ปัจจุบันมีหน่วยความจำที่นิยมใช้กัน 3 แบบ คือ
หน่วยวัดขนาดความจุของ RAM
1 Byte = 1 ตัวอักษร
Kilobyte (KB) = 1024 Bytes
Megabyte (MB) = 1024 Kilobytes
Gigabyte (GB) = 1024 Megabytes
Terabyte (TB) = 1024 Gigabytes

หน่วยความจำแรมมีขนาดแตกต่างกันออกไป หน่วยความจำชนิดนี้บางครั้งเรียกว่า read write memory ซึ่งหมายความว่า ทั้งอ่านและบันทึกได้ หน่วยความจำเป็บแรมที่ใช้อยู่สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM)
2. สเตติกแรม หรือ เอสแรม (Static Random Access Memory : SRAM)
1. ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM)
    DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ ( Capacitor ) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูลให้
คงอยู่ โดยการ refresh นี้ ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่อง จากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เอง จึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM ปัจจุบันนี้แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว

ภาพที่ 1.57 DRAM

       ปัจจุบันมีการคิดค้นดีแรมขึ้นใช้งานอยู่หลายชนิด เทคโนโลยีในการพัฒนาหน่วยความจำประเภทแรม เป็นความพยายามลดเวลา ในส่วนที่สองของการอ่านข้อมูล นั่นก็คือช่วงวงรอบการทำงาน ดังนี้
FPM DRAM : Fast Page Mode Dynamic Random Access Memory
FPM นั้น ก็เหมือนๆกับ DRAM เพียงแต่ว่า มันลดช่วงการหน่วงเวลาในขณะเข้าถึงข้อมูลลง ทำให้มัน มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า DRAM ปกติ โดยที่สัญญาณนาฬิการปกติในการเข้าถึงข้อมูล จะเป็น 6-3-3-3 ( Latency เริ่มต้นที่ 3 clock พร้อมด้วย 3 clock สำหรับการเข้าถึง page ) และสำหรับระบบแบบ 32 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด 100 MB ต่อวินาที ส่วนระบบแบบ 64 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 200 MB ต่อวินาที เช่นกันครับ ปัจจุบันนี้ RAM ชนิดนี้ก็แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นได้บ้างและมักจะมีราคา ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ RAM รุ่นใหม่ๆ เนื่องจากที่ว่า ปริมาณที่มีในท้องตลาดมีน้อยมาก ทั้งๆที่ ยังมีคนที่ต้องการใช้ RAM ชนิดนี้อยู่

ภาพที่ 1.58 FPM DRAM

Extended-Data Output (EDO) 
DRAM หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ Hyper-Page Mode DRAM ซึ่งพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการที่มันจะอ้างอิงตำแหน่ง ที่อ่านข้อมูลจากครั้งก่อนไว้ด้วย ปกติแล้วการดึงข้อมูลจาก

ภาพที่ 1.59 EDO DRAM

RAM ณ ตำแหน่งใดๆ มักจะดึงข้อมูล ณ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ๆ จากการดึงก่อนหน้านี้ เพราะงั้น ถ้ามีการอ้างอิง ณ ตำแหน่งเก่าไว้ก่อน ก็จะทำให้ เสียเวลาในการเข้าถึงตำแหน่งน้อยลง และอีกทั้งมันยังลดช่วงเวลาของ CAS latency ลงด้วย และด้วยความสามารถนี้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นกว่าเดิม กว่า 40% เลยทีเดียว และมีความ สามารถโดยรวมสูงกว่า FPM กว่า 15%
EDO จะทำงานได้ดีที่ 66MHz ด้วย Timming 5-2-2-2 และ ก็ยังทำงานได้ดีเช่นกันถึงแม้จะใช้งานที่ 83MHz ด้วย Timming นี้ และหากว่า chip EDO นี้ มีความเร็วที่สูงมากพอ ( มากกว่า 50ns ) มันก็สามารถใช้งานได้ ณ 100 MHz ที่ Timming 6-3-3-3 ได้อย่างสบาย อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดของ DRAM ชนิดนี้อยู่ที่ 264M ต่อวินาที
EDO RAM เองก็เช่นกัน ณ ปัจจุบันนี้ ก็หาได้ค่อนข้างยากแล้วในท้องตลาด เนื่องจากบริษัทผู้ผลิต หยุดผลิต หรือ ผลิตในปริมาณน้อยลงแล้ว เพราะหันไปผลิต RAM รุ่นใหม่ๆ แทน ทำให้ราคาเมื่อเทียบเป็น เมกต่อเมก กับ SDRAM จึงแพงกว่า
Burst EDO (BEDO) DRAM 
BEDO ได้เพิ่มความสามารถขึ้นมาจาก EDO เดิม คือ Burst Mode โดยหลังจากที่มันได้ address ที่ต้องการ address แรกแล้ว มันก็จะทำการ generate อีก 3 address ขึ้นทันที ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา ดังนั้นจึงตัดช่วงเวลาในการรับ address ต่อไป เพราะฉะนั้น Timming ของมันจึงเป็น 5-1-1-1 ณ 66 MHz
BEDO ไม่เป็นที่แพร่หลาย และได้รับความนิยมเพียงระยะเวลาสั้นๆ เนื่องมาจากว่าทาง Intel ตัดสินใจใช้ SDRAM แทน EDO และไม่ได้ใช้ BEDO เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา chipset ของตน ทำให้บริษัทผู้ผลิตต่างๆ หันมาพัฒนา SDRAM กันแทน

Synchronous DRAM (SDRAM) 
SDRAM นี้ จะต่างจาก DRAM เดิม ตรงที่มันจะทำงานสอดคล้องกับสัญญาณนาฬิกา สำหรับ DRAM เดิมจะทราบตำแหน่งที่จะอ่าน ก็ต่อเมื่อเกิดทั้ง RAS และ CAS ขึ้น แล้วจึงทำการ ไปอ่านข้อมูล โดยมีช่วงเวลาในการ เข้าถึงข้อมูล ตามที่เราๆมักจะได้เห็นบน chip ของตัว RAM เลย เช่น -50 , -60, -80 โดย -50 หมายถึง ช่วงเวลา
เข้าถึง ใช้เวลา 50 นาโนวินาทีเป็นต้น แต่ว่า SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการทำงาน โดยจะใช้ความถี่ ของสัญญาณเป็นตัวระบุ SDRAM จะทำงานตามสัญญาณนาฬิกาขาขึ้น เพื่อรอรับตำแหน่งที่ต้องการให้มันอ่าน แล้วจากนั้น มันก็จะไปค้นหาให้ และให้ผลลัพธ์ออกมา หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว เท่ากับ ค่า CAS เช่น CAS 2 ก็คือ หลังจากรับตำแหน่งที่จะอ่านแล้ว มันก็จะให้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 2 ลูกของสัญญาณนาฬิกา


ภาพที่ 1.60 SDRAM

SDRAM จะมี Timming เป็น 5-1-1-1 ซึ่งแน่นอน มันเร็วพอๆ กันกับ BEDO RAM เลยทีเดียว แต่ว่ามันสามารถ ทำงานได้ ณ 100 MHz หรือ มากกว่า และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 528 M ต่อวินาที

DDR (Double Data Rate)

DDR SDRAM (Double Data Rate Synchronous Dynamic Random Access Memory) หรือ ที่เรียกกันว่า SDRAM II 

DDR DRAM นี้ แยกออกมาจาก SDRAM โดยจุดที่ต่างกันหลักๆ ของทั้งสองชนิดนี้คือ DDR SDRAM นี้ สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งขาขึ้น และ ขาลง ของสัญญาณนาฬิกา เพื่อส่งถ่ายข้อมูล นั่นก็ทำให้อัตราส่งถ่ายเพิ่มได้ถึงเท่าตัว ซึ่งจะมีอัตราส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาทีเลยทีเดียว
Rambus DRAM (RDRAM)

ภาพที่ 1.61 DDR SDRAM
PC100 และ PC133 เป็นชนิดของ SDRAM ส่วน PC1600 PC2100 PC2700 และ PC3200 เป็นชนิดของ DDR SDRAM 

ซึ่งแรมทั้ง 2 ชนิดสามารถที่จะใช้ได้ในคอมพิวเตอร์ทั่วไปซึ่งจะขึ้นกับเมนบอร์ด เมนบอร์ดบางยี่ห้อ รองรับทั้ง SDRAM และ DDR แต่ก็ไม่สามารถที่จะใส่เข้าไป และ ทำงานได้พร้อมกัน ต้องเลือกชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น โดยที่ SDRAM และ DDR ใช้ slot ในการใส่ที่แตกต่างกัน
ส่วนตัวเลขเหล่านั้นเป็นตัวบ่งบอกถึง FSB SPEED ของ RAM

สำหรับ SDRAM
PC100 memory จะมี FSB speed ที่ 100MHz
PC133 memory จะมี FSB speed ที่ 133MHz

สำหรับ DDR
PC1600 memory จะมี FSB speed ที่ 200MHz
PC2100 memory จะมี FSB speed ที่ 266MHz
PC2700 memory จะมี FSB speed ที่ 333MHz
PC3200 memory จะมี FSB speed ที่ 400MHz 
ภาพที่ 1.62 PC ต่างๆ ของ SD RAM และ DDR

ภาพที่ 1.63 จำแนกความแตกต่างของ DDR แต่ละชนิด
DDR 2 
DDR2 จะเพิ่มอันตราการส่งผ่านข้อมูล เป็นสองเท่า ของ Ram DDR เทคโนโลยีของ DDR2 นั้นได้มาจาก Prefetch Buffers (DDR มี Prefetch Buffer 2 Bit แต่ DDR2 มีช่องสัญญาณกว้างเป็น 2 เท่า คือ 4 Bit   
DDR3 มีช่องสัญญาณกว้างเป็น 2 เท่า คือ 8 Bit   จะมี I/O เป็น 4 เท่าของ Bus Ram (ผลมาจาก Prefetch) แต่ก็ทำให้ Latency ของ Ram DDR3 ยิ่งสูงขึ้นไปอีก แต่ก็ทำให้ ปริมาณ Ram ต่อ chip และ FSB สูงมากขึ้น ซึ่งมีผลในทางบวกมากกว่าเดิม

ในข้อแตกต่างของ Ram DDR DDR2 DDR3 ที่ชัดเจนอีกเรื่องนึงคือ ปริมาณการบริโภคไฟ ซึ่ง Ram DDR จะมีแรงดันไฟเลี้ยง อยู่ที่ 2.5 V เป็นมาตรฐาน ส่วน DDR2 จะเป็น 1.8 V และ DDR3 เป็น 1.5 V

( Ram DDR2 ระบุว่า มี Bus = 1066 @2.1 V แต่ปรกติแล้ว ค่า Default ของ Mainboard จะจ่ายไฟให้ Ram DDR2 แค่ 1.8 V ซึ่งอาจจะทำให้ Ram วิ่งที่ความเร็ว 1066 ไม่ได้ เป็นต้น)
GDDR4 หรือ DDR4 (Graphic Double Data Rate 4)
GDDR4 ใช้อยู่ในวงการการ์ดจออยู่ ยังไม่นำลงมาเป็น Ram ของ PC   มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลเป็นสองเท่าของ GDDR3 (ส่งผ่านข้อมูลเท่ากันในสัญญาณนาฬิกาครึ่งเดียว โดนใช้เทคโนโลยี DBI ( Data Bus Inversion ) ซึ่งเปรียบเทียบกับ GDDR3 แล้ว GDDR3 มี Bandwidth = 2.0 Gbits/s ส่วน GDDR4 = 2.4 Gbits/s (หัก Lantency จากตัวแปรเดียวกัน)
GDDR5 จะมี speed ที่สูงกว่า GDDR4 มาก ในระดับ 20Gbits/s ในบัสแบบ 32bit ซึ่งถ้าเป็น Memory Controller ในระดับ 256 Bits จะทำให้มี Bandwidth สูงถึง 160 Gbits/s 
RD RAM : Rambus dynamic random access memory
        เป็นหน่วยความจำระบบย่อยที่มีอัตราการส่งผ่านได้สูงถึง 1.6 พันล้านไบต์ต่อวินาที
        ระบบย่อยประกอบด้วยหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) ตัวควบคุมหน่วยความจำชั่วคราว (RAM controller) และ บัส (พาร์ท) เชื่อมต่อหน่วยความจำชั่วคราวกับไมโครโพรเซสเซอร์ และอุปกรณ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Direct Rambus (DRDRAM) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาและลิขสิทธิ์ของ บริษัท Rambus ที่จะใช้กับไมโครโพรเซสเซอร์ ตั้งแต่ต้นปี 1999

ภาพที่ 1.64 RD RAM
         ชื่อของ RAMBUS เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท RAMBUS Inc. ซึ่งตั้งขึ้นมาตั้งแต่ยุค 80 แล้ว เพราะฉะนั้น ชื่อนี้ ก็ไม่ใช่ชื่อที่ใหม่อะไรนัก โดยปัจจุบันได้เอาหลักการของ RAMBUS มาพัฒนาใหม่ โดยการลด pin, รวม static buffer, และ ทำการปรับแต่งทาง interface ใหม่ DRAM ชนิดนี้ จะสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและลง ของสัญญาณนาฬิกา และ เพียงช่องสัญญาณเดียว ของหน่วยความจำแบบ RAMBUS นี้ มี Performance มากกว่าเป็น
3 เท่า จาก SDRAM 100MHz แล้ว และ เพียงแค่ช่องสัญญาณเดียวนี้ก็มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1.6 G ต่อวินาที ถึงแม้ว่าเวลาในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มของRAMชนิดนี้จะช้า แต่การเข้าถึงข้อมูลแบบต่อเนื่องจะเร็วมากๆ ซึ่งหากว่า RDRAM นี้มีการพัฒนา Interface และ มี PCB ที่ดีๆ แล้วละก็ รวมถึง Controller ของ Interface ให้สามารถใช้งานมันได้ถึง 2 ช่องสัญญาณแล้วหล่ะก็ มันจะมีอัตราส่งถ่ายข้อมูลเพิ่มเป็น 3.2 G ต่อวินาทีและหากว่า
สามารถใช้งานได้ถึง 4 ช่องสัญญาณ ก็จะสามารถเพิ่มไปถึง 6.4 G ต่อวินาที มหาศาลเลย       
         ความเร็วของ RAM สูงซึ่งคาดว่าจะเร่งความเติบโต ของการอินเตอร์เฟซกับการมอง เช่น ภาพ 3 มิติ เกมแบบ interactive และ มัลติมีเดีย   Rambus มีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีหน่วยความจำ ของ DRAM( dynamic random access memory ) ซึ่งอัตราการส่งผ่านข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม เช่น กล้องวิดีโอ ที่ใช้ FireWire และ AGP (Accelerated Graphics Port) ทำให้มีความสำคัญ ในการลดคอขวดในการดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ มาที่ RAM ส่งต่อไปยังไมโครโพรเซสเซอร์ แล้วส่งไปยังจอภาพ หรืออุปกรณ์แสดงผลอื่น Direct Rambus (DRDRAM) ให้บัส ขนา ด 2 ไบต์ (16 บิต) มากกว่า DRAM ที่มีบัสขนาด 8 บิต ที่ความเร็ว RAM 800 MHz (เมกะเฮิร์ซ) อัตราการส่งสูงสุด 1.6 พันล้านไบต์ต่อวินาที Direct Rambus ใช้ pipelining ในการย้ายข้อมูลจาก RAM ไปยังหน่วยความจำ cache ระดับที่ใกล้กับไมโครโพรเซสเซอร์ หรือจอภาพ โดยมีการทำงานได้ 8 คำสั่ง ในเวลาเดียวกัน Rambus ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับมาตรฐานแผ่นเมนบอร์ด อุปกรณ์ที่เสียบบนการเชื่อมต่อกับแผ่นเมนบอร์ด เรียกว่า Rambus in - line memory modules (RIMMS) ซึ่งสามารถแทนที่ dual in-line memory modules ผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่ง DRDRAM คือ SyncLink DRAM (SyncLink dynamic RAM)
2. สเตติกแรม หรือ เอสแรม (Static Random Access Memory : SRAM)
จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM จะต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ และจะไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมัน ก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงกว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของมันเช่นกัน

ภาพที่ 1.65 เปรียบเทียบจำนวน PIN ของ RAM แต่ละชนิด
อนาคตของ RAM 

บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAM


แนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่นกัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด 
3.หน่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory)
หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่ง และข้อมูลระหว่าง การทำงาน เพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น แบ่งเป็นสองประเภท คือ แคชภายใน (Internal Cache) และแคชภายนอก (External Cache) โดยแคชภายใน หรือ L1 หรือ Primary Cache เป็นแคชที่อยู่ในซีพียู ส่วนแคชภายนอก เป็นชิปแบบ SRAM ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานได้ช้ากว่าแบบแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกอีกชื่อได้ว่า L2 หรือ Secondary Cache


ภาพที่ 1.66 การทำงานและตำแหน่ง Cache Memory ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ขอขอบคูณข้อมูลจากhttp://www.radompon.com/

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยความจำ (Memory Unit)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)
 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
       เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก
ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
       โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน
เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

 
2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)
                เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
                ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

 
internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage)
เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม

กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data)
เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป

การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)

อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
 จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage) 

จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk )
 ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks) 

floppy disk
ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม
ศึกษาเพิ่มเติม

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการคำนวณสูงมาก โดยสามารถคำนวณและประมวลผลเป็นจำนวนหลายล้านล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที (Trillion Calculations Per Second) หรือมีชื่อเรียกว่า จิกะฟลอป (Gigaflop) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะสามารถบรรจุ CPU ไว้ภายในได้หลายร้อยตัว เพื่อช่วยกันทำงานประมวลผลชุดคำสั่งที่เข้ามา ในปัจจุบันซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถคนวณได้เร็วถึง 128 จิกะฟลอป
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่มีวางจำหน่ายโดยทั่วไป เนื่องจากมีราคาแพงมาก (ราคาหลักพันล้านบาท) ดังนั้นจึงเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทที่ต้องสั่งทำโดยเฉพาะ เพื่อนำมาใช้งานเฉพาะทาง โดยเฉพาะงานที่ต้องการพลังและความรวดเร็วในการคำนวณอย่างสูงสุดเท่านั้น
NASA Supercomputer
เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ NASA
งานที่ต้องการซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
- งานด้านการทหารและการป้องกันประเทศ
- งานด้านอุตุนิยมวิทยา
- งานประมวลผลภาพทางการแพทย์
- งานด้านอวกาศและการบิน
- งานด้านวิศวกรรมเคมีภัณฑ์และปิโตรเลียม
- งานการวิจัยทางด้านนิวเคลียร์และอนุภาค
- งานทางด้านเคมีและเภสัชวิทยา
- งานด้านระบบธนาคาร
- งานด้านซื้อขายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- งานด้านทะเบียนที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น งานทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง
IBM Supercomputer
เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM
เนื่องจาก Supercomputer มีราคาสูงมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมนำมาใช้ตามบ้านเรือนหรือหน่วยงานธุรกิจทั่วไป แต่จะสามารถพบเห็นการใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ตามหน่วยงานราชการที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัย หน่วยงานด้านงานวิจัย และหน่วยงานด้านความมั่นคง เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.comgeeks.net/

การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์

การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์
สาระสำคัญ
            ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมประยุกต์เป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เกิดการทำงานสนองต่อผู้ใช้เนื่องจากระบบปฏิบัติการนั้นจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับระบบ Hardware ที่ประกอบกันเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมประยุกต์จะเปรียบเสมือนกับสิ่งที่ให้ มนุษย์ได้สร้างสรรค์งานจากการประมวลผล ในคอมพิวเตอร์ ในส่วนตรงนี้จะทำให้การใช้งานคอม พิวเตอร์สำหรับผู้ใช้นั้นตรงกับความต้องการของการใช้งาน และตรงกับงานที่ต้องการจะใช้ 
สาระการเรียนรู้
1. การสร้างแผ่น Start Up
2. การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
3. การติดตั้งโปรแกรมประยุกต์
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1. นักศึกษาสามารถบอกวิธีสร้างแผ่น Start Up และสามารถปฏิบัติและนำไปใช้งานได้จริง
2. นักศึกษาสามารถอธิบายการใช้งานระบบปฏิบัติการแต่ละชนิดได้และสามารถติดตั้งระบบ ปฏิบัติการโดยนำไปใช้งานได้จริง
3. นักศึกษาเข้าใจการทำงานของโปรแกรมประยุกต์แต่ละชนิดและสามารถติดตั้งนำไปใช้งาน ได้
          หลังจากที่ได้ Setup Bios และ Format เสร็จเรียบร้อยแล้ว คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถใช้งานได้ หากยังไม่ได้ลงระบบปฏิบัติการ หรือเรียกว่า OS (operating system) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการ อินเทอร์เฟสระหว่างผู้ใช้ให้สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้
การสร้างแผ่น Startup
           ในการ Boot เราสามารถ Setup จาก Bios ที่เราเรียนจากบทที่แล้วได้เลยว่าจะเลือกBoot Sequenceจากอะไรเป็นอันดับแรกแผ่น Startup Disk หมายถึง แผ่นดิสก์ ใช้สำหรับ Boot เครื่องโดยที่จะต้องใช้เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆขึ้นกับระบบ Windows และไม่สามารถ Boot เครื่องเข้า Windows แบบปกติได้ โดยที่ภายในแผ่นดิสก์นี้ จะประกอบไปด้วยระบบ DOS (ของ Windows) และไฟล์ Utilities ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการจัดการ และการ Format ฮาร์ดดิสก์ รวมทั้งโปรแกรมหรือคำสั่งของ DOS ต่าง ๆ ในส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งาน โดยทั่วไป มักจะใช้แผ่น Startup Disk สำหรับ Boot เครื่อง เพื่อทำการจัด พาร์ติชั่น หรือ การ Format ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งโดยปกติ การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรจะมีแผ่นดิสก์ไว้ใช้ยามฉุกเฉินส่วนวิธีการใช้งานแผ่นดิสก์นี้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มีการตั้ง Boot Sequence ให้เลือก Boot จาก Drive A: ก่อนแล้วค่อยไปหา Hard disk ถ้าใส่แผ่น Startup Disk ในช่อง Floppy Disk Drive เครื่องก็จะเลือก Boot จากแผ่นดิสก์ แต่ถ้าหากตั้งให้ เครื่อง Boot ระบบจาก ฮาร์ดดิสก์ก่อน ต้องไปเปลี่ยนใน Bios ให้เป็น Drive A: แทน จึงจะใช้ได้ ดูเรื่องการตั้ง Bios ในบทที่ผ่านมา การสร้างแผ่น Windows 98 & Me Startup Disk สามารถทำโดยใช้เครื่องมือที่อยู่ในระบบ Windows 98 & ME ได้ซึ่งแผ่น Startup Disk ที่ได้นี้ จะสามารถนำมาใช้สำหรับการ Boot เครื่องคอมฯ และภายในแผ่น จะมีชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น และนอกจากนี้ ยังมีการติดตั้ง Driver ของ CD-ROM รวมอยู่ด้วย ดังนั้น จึงสามารถใช้งาน CD-ROM Drive ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการตั้ง Driver ของ CD-ROMวิธีการสร้างแผ่น Windows 98 & Me Startup Disk ถ้าหากระบบ Windows ติดตั้งจากแผ่นซีดี ต้องทำการใส่แผ่นซีดีสำหรับติดตั้ง Windows เข้าไปในเครื่องก่อน แต่ถ้าหากเป็นเครื่องที่ทำการติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์โดยตรงไม่ต้องใส่แผ่นWindows
ขั้นตอนการสร้างแผ่น Startup Disk 
1. เริ่มต้นโดยการเลือกที่เมนู Start >> Settings >> Control Panel >> Add/Remove Programs เลือกที่ป้าย Startup Disk
2. ใส่แผ่น Floppy Disk แผ่นที่ใส่ควรจะทำการ Format ก่อนแล้วเลือกที่ Create Disk ตามรูป
3. เลือก OK
4. รอสักพัก เครื่องจะทำการสร้างและ ก็อปปี้ไฟล์ต่าง ๆ ที่จำเป็นใส่ลงในแผ่น Floppy Disk เมื่อเสร็จแล้วสามารถนำแผ่น Floppy Disk ที่ได้นี้ไปใช้งานได้ โดยจะสามารถนำไปใช้เป็นแผ่น Boot เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทันที
การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 98
มีขั้นตอนในการติดตั้งดังนี้
      1.ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
      2. เลือก Boot ให้สามารถใช้งาน CD - ROM ได้ด้วย
      3. ใส่แผ่น Windows 98 ที่ CD-ROM แล้วเลือกที่ไฟล์ SETUP.EXE ถ้า CD-ROM เป็น Drive E:\ ให้พิมพ์ ดังข้อความดังต่อไปนี้ E:\WIN98>setup
            เทคนิคอย่างหนึ่งสำหรับการติดตั้ง Windows ที่อยากแนะนำ คือ หากมีพื้นที่ว่าง ๆ บนฮาร์ดดิสก์มากเพียงพอให้ทำการ Copy Folder จากแผ่น CD Setup WIN98 ใส่ไว้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องก่อน จะเป็น การสะดวกดี รวมทั้งภายหลัง ที่จะทำการลงโปรแกรมอื่น ๆ เวลาที่จะหา แผ่น CD Setup ไม่ต้องคอยใส่แผ่น CD ของ Windows ด้วย
4. รอจนเครื่อง Scandisk เสร็จ
5. กด Continue เพื่อทำงานต่อไป
6.เลือก I accept the Agreement แล้ว Click ปุ่ม Next
7. ใส่ CD Key สำหรับ Windows98 Thai Setup และกด Next
ขอขอบคูณข้อมูลจากhttp://www.sttc.ac.th/

วิธีการติดตั้งไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์บน Windows XP

ด็อทเมตริกซ์ พรินเตอร์ (Dot Matrix Printer)

การใช้งานผ่านไดร์เวอร์ /ซอฟท์แวร์ (Driver/Software)

วิธีการติดตั้งไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์บน Windows XP
ปกติในวินโดวส์ XP จะมีไดร์เวอร์ของเครื่องพิมพ์ดอทเมตริกซ์ และอิงค์เจ็ต รุ่นเก่าๆ เกือบทุกรุ่น โดยวีธีการติดตั้งไดร์เวอร์จากวินโดวส์ XP สามารถทำได้ดังนี้ หมายเหตุ : รายชื่อเครื่องพิมพ์ที่สามารถติดตั้งได้จากวินโดวส์ XP ในทันที สามารถดูได้จาก
1. เปิดหน้าต่าง Printers and Faxes โดยการเข้าที่ Control Panel หรือคลิกที่ Start เลือก Printers and Faxes
2. คลิกที่ปุ่ม Add printer
3. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Add Printer Wizard ขึ้นมาให้คลิกที่ปุ่ม Next
4. ถ้าหากต่อเครื่องพิมพ์โดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เลือกที่ Local printer attached to this computer แต่ถ้าหากเครื่องพิมพ์ถูกต่อไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ให้เลือกที่ A network printer,or a printer attached to another computer
5. หากต่อเครื่องพิมพ์ทางพอร์ต LPT ด้วยสาย Parallel อยู่แล้วให้ปุ่ม Next
6. เลือก Manufacture เป็น EPSON และเลือกรุ่นของเครื่องพิมพ์ที่ใช้งาน ได้จากในช่องของ Printer จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Next
7. คลิกปุ่ม Next
8. ถ้าหากต้องการ Share เครื่องพิมพ์ให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ใช้ร่วมกัน ให้เลือกที่ Share name และตั้งชื่อเครื่องพิมพ์ แต่ถ้าหากเป็นการใช้งานเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เครื่องเดียว ให้เลือกที่ Do not share this printer เมื่อเลือกเรียบร้อยแล้ว
ให้คลิกที่ปุ่ม Next
9. หากต้องการทดสอบการพิมพ์ว่าภายหลังจากลงไดร์เวอร์แล้วเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์งานได้ ให้เลือกที่ Yes แต่ถ้าหากไม่ต้องการทดสอบการพิมพ์ ให้เลือกที่ No จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Next
10. วินโดวส์ XP จะติดตั้งไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์รุ่นที่เราได้ทำการเลือกไป คลิกที่ปุ่ม Finish เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
 ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.epson.co.th/

วิธีป้องกันและกำจัด Virus

วิธีป้องกันและกำจัด Virus

วิธีการป้องกันไวรัส 

1. ติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัส และตรวจสอบเป็นประจำ
2. ปรับปรุง หรืออัปเดทโปรแกรมกำจัดไวรัส
3. ปรับปรุง หรืออัปเดท O.S. เช่น Windows, Linux เป็นต้น
4. ปรับปรุง หรืออัปเดทโปรแกรมในการตรวจรับ Mail
5. ปรับปรุง หรืออัปเดทโปรแกรม Browser เช่น Internet Explorer เป็นต้น
6. ตรวจสอบแแผ่นดิสก์จากการใช้งานร่วมกับผู้อื่น
7. สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
8. หลีกเลี่ยงการ ก๊อปปี้โปรแกรมจากภายนอก
9. จัดทำแผ่น Boot เพื่อใช้สำหรับกรณีมีปัญหาไม่สามารถเข้า Windws ได้

ขั้นตอนในการป้องกันไวรัส 
      ปัจจุบันการใช้งานอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่หลายๆ คน และหลายๆธุรกิจจะขาดเสียมิได้ และถือเป็นช่องทางที่ผู้คิดค้นไวรัสชอบมากที่สุด เนื่องจากสามารถแพร่กระจายได้พร้อมกันทั่วโลกเลยทีเดียว ดังนั้น ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่จำเป็นต้องใช้งานคอมฯ ในส่วนของ อินเตอร์เน็ต หรือมีเพื่อนร่วมงานใช้อินเตอร์เน็ตด้วยละก็ ก็คงจะต้องระวังตัวไว้ให้ดี
      ส่วนวิธีการป้องกันแบบได้ผลดีมาก เป็นที่นิยม และมีความเสี่ยงน้อยสุด (แต่ไม่รับรอง 100% ว่าจะไม่ติดไวรัส) ให้ทำตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ติดตั้งโปรแกรม Firewall 
ซึ่งเป็นโปรแกรมในการป้องกัน hacker ได้ดีมาก ซึ่งมีทั้งที่เป็น hardware และ software สำหรับ software อาจหาฟรี download ได้จากเว็บไซท์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Sygate Personal Firewall, ZoneAlarm ซึ่งเป็น freeware ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ถ้าสนใจเราก็ทำลิงค์สำหรับการ download ไว้ให้แล้วที่หน้า Anti-Virus (สำหรับองค์กรใหญ่ๆ มักมีการติดตั้ง Firewall ไว้แล้ว ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่มเติมอีกก็ได้

2. Update Windows ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
โดยเรียกใช้โปรแกรม Windows Update แบบอัตโนมัติ ที่มีมากับ Windows ที่คุณใช้งานอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันช่องโหว่ของโปรแกรม Windows ที่พวก hacker ค้นพบ แต่ต้อง update online ผ่านอินเตอร์เน็ต เท่านั้น (เนื่องจากมีการ update บ่อยมาก อาจมีการ update ทุกวันเลยทีเดียว)

ขั้นตอนการเรียกโปรแกรม Windows Update

- คลิกปุ่ม Start เลือก Settings
- คลิกเลือก Control Panel
- ใน Windows 2000 จะมีไอคอน Automatic Updates ให้คลิกเลือกได้เลย
- ใน Windows XP จะอยู่ทีแถบด้านซ้ายมือชื่อ Windows Update

หลังจากนั้นจะมีการรายงานว่ามีโปรแกรมอะไรบ้างที่จะต้อง update เราสามารถคลิกเลือกรายการที่ต้องการ update ได้ (ถ้าไม่ทราบให้เลือกทั้งหมด) หลังจากนั้นโปรแกรมจะเริ่ม download และติดตั้งให้จนกระทั่งเสร็จ โดยทั่วไปจะต้องมีการ restart windows ใหม่หนึ่งครั้ง

ส่วนการ update แบบอัตโนม้ตินั้น สามารถกำหนดให้ update ทุกๆ ชั่วโมง ทุกวัน หรือเวลาใดก็ได้

3. ติดตั้งและ Update Anti-Virus โปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ 
โดยเฉพาะในส่วนของ DAT & Engine สามารถอ่านรายละเอีดยเพิ่มเติมได้จากหน้า Anti-Virus

Pattern / DAT / Engine คืออะไร
Engine และ DAT หมายถึงอะไร
ENGINE หมายถึง คำสั่ง เครื่องมือ หรือเทคนิควิธีการในการจัดการไวรัส
DAT File หมายถึง ข้อมูลหรือวิธีการหลบซ่อนของไวรัส (บางค่ายเรียก DAT ว่า Pattern)
โดยปกติเมื่อเรามีการติดตั้งโปรแกรม ป้องกันและกำจัดไวรัสแล้ว ในส่วนของ Engine และ DAT ไฟล์ที่มี อาจจะยังไม่ update ล่าสุด ทั้งนี้เนื่องมาจาก virus มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เราควรทำการ update Engine & DAT ไฟล์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเราสามารถ update โดยตรงผ่านทาง internet ได้

ทำความรู้จัก Live Update
      หลังจากที่คุณได้มีการเลือกว่า คุณจะใช้โปรแกรมอะไรในการติดตั้งในระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อใช้ในการป้องกันไวรัสแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ในการทำให้โปรแกรม Anit-virus ของคุณ สามารถป้องกันไวรัสได้ดี นั่นคือ การ Update ตัวโปรแกรมเอง กับ การ Update ไฟล์ข้อมูลไวรัส (ที่เราเรียกว่า DAT File, หรือ Pattern File)

      โดยปกติตัวโปรแกรม Anti-virus มักจะไม่ค่อย Update บ่อยมาก ยกเว้นกรณีมีไวรัสตัวแปลกๆ ใหม่เข้ามา ซึ่งตัวโปรแกรมเดิมอาจไม่สามารถแก้ไขได้เต็มประสิทธิภาพ แต่สำหรับไฟล์ DAT นั้น จะต้องมีการ update บ่อย อย่างน้อยก็อาทิตย์ละครั้ง ซึ่งเราจะมีวิธีในการ update ได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่อยากแนะนำ คือการทำ Live Update

Live Update เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้ผลิตโปรแกรม Anti-virus นิยมนำมาใช้ เพื่อใช้ในการ update DAT ไฟล์ แบบอัตโนมัติ ผ่านทาง internet โดยปกติโปรแกรมจะทำการติดตั้งระบบ Live Update นี้พร้อมกับตัวโปรแกรม Anti-Virus เอง และจะทำการตรวจสอบ อาจเป็นทุกๆ สัปดาห์ หรือทุกครั้งที่มีการ online Internet และถ้าโปรแกรมพบว่า DAT ไฟล์นั้น ไม่ทันสมัย ตัวโปรแกรม Anit-virus ก็จะ update ให้อัตโนมัติ 
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://sites.google.com

วิธี การสร้างบล๊อก ด้วย blogspot ง่ายๆ


วิธี การสร้างบล๊อก ด้วย blogspot ง่ายๆ


เรามาทำความรู้จักกับ Blogspot กันก่อนดีกว่า บล๊อกสปอตนั้นเป็นของ google ที่สามารถให้คนทั่วไปได้เข้าถึงการ เขียนบล๊อกต่างๆ หรือการเขียนเว็บแบบง่ายๆนั้นเอง การที่จะเข้าใช้งาน blogspot นั้นจะต้องมี Gmail ซึ่งใช้ในการล๊อกอิน สามารถสมัครได้ง่ายๆ เราว่าดูวิธีทำบล๊อกสปอร์ตกันเลยดีกว่า
1.ให้เราทำการพิมพ์ในช่อง URL ด้านบนว่า www.blogspot.com หรือการเข้าสู่เว็บ blogspot นั้นเอง ตามภาพด้านบน
2.ก็จะได้หน้าตาเป็นแบบนี้ให้เราทำการล๊อกอินเข้าไป โดยใช้ Gmail ของเรา
3.พอทำการล๊อกอินเสร็จก็จะได้หน้าตาเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกที่ บล๊อกใหม่
4.พอมาถึงหน้านี้
– ในช่องหัวข้อ ให้เราทำการตั้งชื่อหัวข้อของบล๊อกของเรา(เรื่องที่เราจะเขียนบล๊อก หรือ Title)
– ในช่องที่อยู่ ให้เราทำการตั้งชื่อ URL ของเรา อาทิเช่น gunoob.blogspot.com , cnx-it.blogspot.comเป็นต้น (.blogspot.com จะมาการเติมให้โดยอัตโนมัติ ให้พิมพ์แค่ gunoob หรือ cnx-it)
– ในช่องแม่แบบ ให้เราทำการเลือก รูปแบบของบล๊อกหรือ Theme นั้นเอง (แนะนำให้ใช้แบบง่าย ธีมสามารถเปลี่ยนภายหลังได้)
5.จะได้อกมาเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกเข้าไปเลย (ของผมได้ทำการสร้างใว้ก่อนแล้ว)
6.จะได้หน้าต่างเป็นแบบนี้ให้ทำการคลิกที่ บมความใหม่ เพื่อทำการเขียนบทความหรือ blog
7.พอได้หน้าตาแบบนี้ให้เราทำการเขียนบล๊อก หรือบทความที่เราต้องการได้เลย
– ในช่องโพสต์ด้านบนตัวหนังสือสีส้ม ให้เราทำการเขียนหัวข้อหรือหัวเรื่อง บทความที่เราต้องการเขียน
– การเขียนบทความ ข้อมูล หรือบล๊อกนั้นสามารถทำการเขียนได้ใช้ กระดาษ ตรงกลางหน้า
– ด้านขวามือจะมีป้ายกำกับ ให้เราทำการคลิกเพื่อพิมพ์ คำ ที่ผู้อื่นสามารถค้นบทความของเราเจอได้
– การใส่ลิ้งให้ทำการคลิกที่ ลิ้ง ในแทบเครื่องมือ เพื่อทำการใส่ URL ที่เราต้องการลิ้ง
– การใส่รูปภาพ สามารถทำได้โดยการคลิกที่ แทกรูปภาพ ด้านขวา ลิ้ง ในแทบเครื่องมือ แล้วทำการเลือกไฟล์เพื่ออัพโหลดรูปภาพแล้ว คลิกรูปภาพที่ต้องการเลือก แล้วกดเพิ่มรายการที่เลือก
– ถ้าทำการเขียนบทความเสร็จ ให้ทำการคลิกที่ เผยแพร่ เพื่อทำการเผยแพร่บทความที่สามารถให้ผู้อื่นได้อ่าน หรือเข้าชมได้
8.การเปลี่ยนธีม ตามที่เราต้องการ ให้ทำการคลิกที่ แม่แบบ จะมีให้เราเลือกธีมตามที่เราต้องการ ถ้าจะเอาอันไหนให้ทำการคลิก แล้วกด ใช้กับบล๊อก(ปุ่มสีส้ม)เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ (ธีมเราสามารถออกแบบเองและทำเองตามที่เราต้องการได้)
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://gunoob.com/